เมืองซ่าวหยาง มณฑลหูหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้อตกลงว่าด้วยหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) ว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์มิตรภาพ ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ กับเมืองซ่าวหยาง มณฑลหูหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้อมูลพื้นฐานสาธารณรัฐประชาชนจีน
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของทวีปเอเชียมีพรมแดนติดต่อประเทศต่าง ๆ โดยรอบ 15 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีเหนือ รัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน เคอร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฐาน พม่า ลาว และเวียดนาม โดยมีเส้นพรมแดนทางบกยาวกว่า 2 หมื่นกิโลเมตร ขณะที่ทิศตะวันออกและทิศใต้จดทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้
พื้นที่ : 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากประเทศ รัสเซีย และแคนาดา พรมแดนทางบกของจีนมีความยาว 28,000 กิโลเมตร และมีชายฝั่งทะเลยาว 18,000 กิโลเมตร เกาะที่ใหญ่ที่สุด ในบรรดาเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 6,536 เกาะ คือเกาะไต้หวันและไห่หนาน เมืองหลวงคือ ปักกิ่ง
ดินแดนอาณาเขต : ประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อกับ 14 ประเทศ มากกว่าประเทศอื่นใดในโลก (เท่ากับรัสเซีย) เรียงตามเข็มนาฬิกาได้แก่ ประเทศเวียดนาม ลาว พม่า อินเดีย ภูฏาน เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ นอกเหนือจากนี้ พรมแดนระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐจีนตั้งอยู่ในน่านน้ำอาณาเขต ประเทศจีนมีพรมแดนทางบกยาว 22,117 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในโลก
เมืองหลวง : ปักกิ่งหรือเป่ยจิงตามภาษาราชการจีน
ภูมิอากาศ : พื้นที่ภาคเหนือมี 4 ฤดู แห้งและหนาวเย็นในหน้าหนาว ร้อนอบอ้าวในหน้าร้อน ตอนใต้มีอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งอากาศจะแตกต่างกันตามภูมิประเทศ
ภูมิประเทศ : ส่วนที่ใหญ่ที่สุดของจีนอยู่ในเขตอบอุ่น ซึ่งมีฤดูกาลที่แตกต่างกันไป ทางตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา ทะเลทราย และที่ราบสูง และค่อยๆ ลาดลงทางทิศตะวันออก
ลักษณะประชากร
ประชากร : 1,347.3 ล้านคน ไม่รวมเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน
สัญชาติ : มีชนชาติต่าง ๆ อยู่รวมกัน 56 ชนชาติ โดยเป็นชาวฮั่น ร้อยละ 93.3 ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยอื่นๆ
ศาสนา : ลัทธิขงจื้อ เต๋า พุทธ อิสลาม และคริสต์
ภาษา : ภาษาจีนกลาง (ผู่ทงฮว้า普通话) เป็นภาษาราชการ
การศึกษา : ระบบการศึกษาของจีน แบ่งออกเป็น
1. ก่อนปฐมวัย ระดับประถม และระดับมัธยมศึกษา
2.ระดับอุดมศึกษา
ภาคการศึกษาในสถาบันส่วนใหญ่แบ่งภาคการศึกษาออกเป็น 2 ภาคการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1 ตั้งแต่เดือนกันยายน- มกราคม
ภาคการเรียนที่ 2 ตั้งแต่ ปลายกุมภาพันธ์ - มิถุนายน
ด้านวัฒนธรรม
การเรียกชื่อสกุลของชาวจีนตรงกันข้ามกับภาษาไทย คือเรียกต้นด้วยชื่อสกุล ชื่อตัวใช้เรียกกันในหมู่ญาติ และเพื่อนสนิท โดยปกติชาวจีนมักไม่ทักทาย ด้วยการจับมือหรือจูบเพื่อร่ำลา
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ชาวจีนมีเครือข่ายคนรู้จัก (เหมือนกับการมีเส้นสายในไทย) กล่าวกันว่าชาวจีนที่ไร้เครือข่ายคนรู้จัก เป็นผู้ที่เป็นจีนเพียงครึ่งเดียว จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักกับผู้คนชาวต่างชาติ ซึ่งทำธุรกิจในประเทศจีน ดังนั้นควรให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมนี้ด้วยการเชื้อเชิญ
นโยบายเศรษฐกิจ
ประเทศจีนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีพลวัตรสูง และเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (economic powerhouse) ของภูมิภาคและของโลกด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี และการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดกำลังเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายว่าการเติบโตนี้จะมุ่งไปในทิศทางใด
ปัจจุบันถนนทุกสายวิ่งสู่ประเทศจีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองลงมาจาก สหรัฐฯ และมีเงินทุนสำรองที่มากที่สุดในโลกโดยความสำเร็จนี้นำมาซึ่งความห่วงกังวลและโอกาส โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
วันที่:
6 กุมภาพันธ์ 2561
สถานะ:
ลงนามแล้ว
ระดับกิจกรรม:
จังหวัด
ประเภท:
LOI
จังหวัด:
เชียงใหม่
ประเทศคู่ลงนาม:
สาธารณรัฐประชาชนจีน
สถานที่ลงนาม:
ณ เมืองซ่าวหยาง มณฑลหูหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้ลงนาม:
นายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
นายหลิว ซื่อ ซิง นายกเทศมนตรีเมืองซ่าวหยาง
นางสาว ชยาภรณ์ บุตรพิชัย
3 กุมภาพันธ์ 2566